วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่16



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วันที่ 2 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น. 




  ความรู้ที่ได้รับ


        วันนี้อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอวิจัยและบทโทรทัศน์ครู ตามที่ตนเองได้รับ รวมถึงอาจารย์จะซักถามเนื้อหาสำคัญของวิจัย เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำถาม


                                 



                                


                                





           ต่อมาอาจารย์ให้จับกลุ่มทำแผ่นประชาสัมพันธ์ในหน่วยที่ตนเองได้รับ มีหัวข้อในแต่ละหน้าดังนี้

หน้าปก ให้เขียนชื่อโรงเรียนและสัญลักษณ์สถานศึกษาของเรา
หน้าที่ 1 คำชี้แจง หน่วย....
หน้าที่ 2 เล่าสู่กันฟัง
หน้าที่ 3 ใส่เพลง คำคล้องจอง หรือนิทาน
หน้าที่ 4 เล่นกับลูก เป็นการใส่เกมเพื่อให้เด็กได้เล่นกับผู้ปกครอง โดยเกมที่ใส่จะต้องเป็นเกมทางวิทยาศาสตร์ไม่ใช่คณิตศาสตร์
หน้าที่ 5 สมาชิกในกลุ่ม
 การนำไปใช้


      นำความรู้จากวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนๆสรุปไปใช้ในการเรียนการสอนหรือการคิดกิจกรรมให้กับเด็กๆ รวมถึงนำคำชี้แนะของอาจารย์ไปปรับใช้ในครั้งต่อๆไป และไปประกอบการเรียนรายวิชาอื่นๆ

 ประเมิน


ตนเอง : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนองาน มีคุยบ้างเล็กน้อย แต่พอถึงเวลาทำงาน                   ช่วยคิดและลงมือทำกับเพื่อนภายในกลุ่มได้ดี
เพื่อน : มีความพร้อมในการนำเสนองานทุกคน มีคุยบ้างเล็กน้อย พอถึงเวลาทำงานกลุ่มตั้งใจช่วยเหลือ              กันดี
อาจารย์ : มีคำชี้แนะที่ดีเสมอ มีคำถามกระตุ้นการเรียนรู้ของนักศึกษาแต่ละคนได้ดี



บันทึกอนุทินครั้งที่15



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

วันที่ 25 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น. 

ความรู้ที่ได้รับ

       อาจารย์ให้เพื่อนๆออกไปนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู
ต่อมาอาจารย์ได้สอนการทำวาฟเฟิล หรือขนมรังผึ้ง
 
โดยมีส่วนผสมดังนี้
1. แป้งวาฟเฟิลไก่
2. ไข่
3. เนย
4.น้ำเปล่า

รูปภาพการทำ

                       
            



                                   



                                 



                                   



                                   



                                  



                                             





                                            

การนำไปใช้

สามารถนำขั้นตอนการทำวาฟเฟิลไปประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมกับเด็ก
และนำวิจัย โทรทัศน์ครูที่เพื่อนนำเสนอมาเป็นเกร็ดความรู้ในการทำกิจกรรมการเรียนในอนาคต


การประเมิน

ตนเอง : มีความพร้อมในการเรียน มีส่วนร่วมการในทำกิจกรรมได้ดี แต่งกายถูกระเบียบ มาเรียนตรงต่อ                  เวลา ช่วยกันเก็บทำความสะอาดห้องเรียน หลังจากเสร็จกิจกรรมแล้ว
เพื่อน : มีความสามัคคีช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี มีน้ำใจซึ่งกันและกัน อาจคุยบ้างบางเวลา แต่ก็เชื่อฟัง                  เวลาอาจารย์แนะนำข้นตอน  และการทำ
อาจารย์ : มีกิจกรรมสนุกๆมาให้เราทำเสมอ เพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนการสอนและให้เราได้เห็นภาพ                 การทำกิจกรรมด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติจริง



                   

สรุปวิจัย



สรุปวิจัย

ชื่อเรื่อง :การกิจกรรมแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม                 ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรวง   กุศลส่ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

                                        

ความสำคัญ

เด็กปฐมวัยเริ่มต้นของการวางรากฐานและพัฒนาและสร้างประสบการณ์ให้แก่เด็กโดยวิธีการที่ถูกต้องก็จะทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ


วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อจัดกิจกรรมแหล่งเรียนรู้ ทางธรรมชาติในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสูงขึ้น

ประชากร

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี่้มีทั้งหมด 70 คน ณ ศูนพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย

การศึกษาครั้งนี้ทำการทดลองในปีงบประมาณ 2554 ตั้งแต่เดือน วันที่ 1 ตุลาคม2553-3จกันยายน 2554

นิยามเฉพาะ

1 เด็กปฐมวัยหมายถึง เด็กปฐมวัยชาย หญิง ที่กำลังศึกษาอยู่ศูนย์พัฒนาก่อนวัยเรียน  มหาวิทยาลัย           ราชภัฏเพชรบูรณ์
2 การจัดกิจกรรมแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ หมายถึง การจัดกิจกรรมแหล่งเรียนรุ้ทางธรรมชาติในสถาน       ศึกษาให้มีแหล่งเรียนรู้แบบยั่งยืนโดยการปลูกต้นไม่พืชพันธุ์ต่างๆในโรงเรียน
3การศึกษาแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ คือ การดำเนินกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะให้เด็กรู้จัก            สังเกตทดลอง ปฎิบัติจริงที่เกี่ยวข้องในการสัมผัสพืชและสิ่งแวดล้อม

ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น  คือการจัดกิจกรรมแหล่งการเรียนรู้ธรรมชาติ  สวนพฤษาสาตร์ สวนครัว
ตัวแปรตาม คือส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย  อนุรักษ์น้ำ อนุรักษ์พืช อนุรักษ์สัตว์


เครื่องมือในการวิจัย

แบบสอบถามการวิจัย1ชุด จำนวน 20ข้อ

วิธีดำเนินการ

-จัดแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติในสถานศึกษาระดับปฐมวัย
  1. สวนสมุนไพร
  2. สวนไม้ประดับ
  3. สวนดอกไม้
  4. สวนพฤษศาสตร์
  5. อื่นๆ
-เรียนรู้แหล่งธรรมชาติภายในสถานศึกษาที่มีอยู่เดิม
  1. สนามเด็กเล่น
  2. แปลงเกษตร
  3. ส่วนหย่อม
  4. รอบบริเวณห้องเรียน
ให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติจริงในการปลูกต้นไม้ ลดน้ำ พรวนดิน และดูแลต้นไม้หรือแปรงผักของตนเอง
-ก่อนปลูกต้นไม้ครูให้เด็กสำรวจดินก่อน และช่วยกันเก็บหญ้าก่อนปลูกพืช 
-นำเมล็ดพืชลงดิน  ลดน้ำทุกวัน  พอพืชเจริญเติบโตขึ้น  ก็ให้รพรวนดินให้กับต้นพืชของตนเอง  หลังจากนั้นพอพืชโตเต็มที่ก็ให้เด็กๆ นำรูปพืชของตัวเองมาติดบอด  เพื่อโชว์ผลงานของตนเอง


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรัษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น
  2. ครูปฐมวัยได้มีแนวทางการจัดกิจกรรมและจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความรู้จากการศึกษาแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ  เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สรุป
  1. เด็กปฐมวัยที่่ได้รับการจัดกิจกรรมแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สูงขึ้น
  2. เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการพฤติกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่สูงขึ้น



โทรทัศร์ครู


                                                 
                                                       สอนเด็กเรื่องผลไม้  ผลไม้แสนสนุก


                

วิดีโอนี้ต้องการให้เด็กๆรู้เรื่องเกี่ยวกับผลไม้

     ครูหยิบผลไม้ชนิดแรกขึ้นมาแล้วถามเด็กๆว่า เด็กๆคะ ผลไม้ชนิดนี้คืออะไร เด็กๆตอบว่ามะม่วงครับ ค่ะ ครูถามต่อว่ามะม่วงมีสีอะไร เด็กๆตอบว่า เหลืองครับค่ะ ครูถามเด็กๆว่า เด็กๆเคยกินไหมคะ เด็กๆตอบว่าเคย ครับค่ะ

      ผลไม้ชนิดต่อมาองุ่น ครูถามเด็กๆว่าเด็กๆคะนี้คืออะไร เด็กๆตอบว่าองุ่น ครูถามเด็กๆต่อว่า องุ่นมีสีอะไรค่ะเด็กๆตอบครูว่ามีสีเขียว ครับค่ะ ครูถามเด็กต่ออีกว่านอกจากมีสีเขียวแล้วมีสีอะไรอีก เด็กๆตอบว่าสีดำ กับสีแดงค่ะ

      ผลไม้ชนิดต่อมาคือมะเขือเทศ ครูถามเด็กๆว่า นี้คืออะไรคะ เด็กๆตอบว่ามะเขือเทศ ครับค่ะ ครูตอบเด็กๆว่าใช่ค่ะมันคือมะเขือเทศ  มะเขือเทศมีสีอะไรคะ  เด็กๆตอบว่าสีแดง ครับค่ะ

      ผลไม้ชนิดต่อมาคือแอปเปิ้ล ครูถามว่านี้คืออะไรคะเด็กๆ เด็กตอบว่าแอปเปิ้ล ครับค่ะ  ครูถามอีกว่าแอปเปิ้ลมีสีอะไรค่ะ เด็กๆ ตอบว่าสีแดงกับสีเขียว ครับค่ะ

      ผลไม่้ชนิดต่อมาคือส้ม  ครูถามว่าส้มมีสีอะไรค่ะ  เด็กๆตอบว่ามีสีส้มค่ะ ครูถามอีกว่าแต่ถ้าเป็นส้มที่มีสีเขียว เขาเรียกว่าส้มอะไร เด็กๆเงียบ  ครูบอกเด็กๆว่า เขาเรียกว่าส้มเช้งค่ะ

     ผลไม้ชนิดสุดท้ายของวันนี้คือ  กล้วย ครูถามเด็กๆว่า นี้คืออะไรคะ เด็กๆตอบว่ากล้วย ครับค่ะ ครูถามเด็กๆต่อว่ากล้วยมีสีอะไรคะ  เด็กๆ  ตอบว่าสีเหลือง ครับค่ะ

     ต่อมาครูสรุปเรื่องประโยชน์ของผลไม้ และโทษของผลไม้ให้เด็กฟังเป็นอันเสร็จกิจกรรมค่ะ

ประโยชของการจัดกิจกรรม

ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องของผลไม้ชนิดต่างๆ และเรียนรู้เรื่องสีด้วย

เป้าหมายของครู 

เน้นให้เด็กได้เรียนรู้ชนิดของ ผลไม้  สีของผลไม้  และให้เด็กตอบคำถาม มีส่วนร่วมในการสนทนาตอบโต้กับครู





บันทึกอนุทินครั้งที่่14




วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วันที่ 18 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น. 








เนื้อหาในวันนี้ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วนำเสนองานอีก3กลุ่มคือ
กลุ่มนกหงษ์หยก แผนวันอังคาร
กลุ่มสับปะรด แผนวันอังคาร
กลุ่มส้ม แผนวันพฤหัสบดี


     กลุ่มที่2 นกหงษ์หยก 

                               

                 กลุ่มนี้สอนเกี่ยวกับนกหงษ์หยกโดยเปรียบเทียบความเหมือนต่างของนกสองสายพันธ์ได้แก่พันธ์เยอรมันกับพันธ์สตีโนมีการเตรียมสื่ออุปกรณ์มาดีมีการทำแผ่นวงกลมเป็นรูปสีต่างๆเพื่อให้เด็กเข้าใจและเห็นสีชัดเจนยิ่งขึ้น
ข้อบกพร่อง คือควรทำตารางแยกลักษณะให้ชัดเจน เช่น สี ขนาด รูปร่าง ส่วนประกอบ และแบ่งชนิดสายพันธ์ของนกที่จะสอนเพื่อเปรียบเทียบให้เด็กเห็นชัดเจนความเหมือนต่างของนกสองสายพันธ์ อันไหนวาดรูปได้ก็ให้วาดเพื่อให้เด็กเห็นภาพเด็กจะได้เข้าใจเพราะเด็กยังอ่านหนังสือไม่ออก เวลาถามควรไล่ระดับในการถามเพื่อให้เด็กสังเกตเหมือนกันโดยเริ่มจากใบหน้าลงมาสู่เท้า


                                                                 กลุ่มที่8 สับปะรด

                              

        กลุ่มนี้จะสอนในเรื่องของประโยชน์และข้อควรระวังเริ่มขั้นนำด้วยการเล่านิทาน"น้องหนูนากับสับปะรด" มีการนำรูปมาให้ดูประกอบเพื่อให้เด็กเกิดการสังเกตจากภาพ
ข้อบกพร่อง ควรพูดเป็นขั้นตอนอย่าเพิ่งรีบร้อนสอนไปเป็นขั้นๆ ครูควรถามคำถามให้ชัดเจน เช่น เด็กๆคิดว่าภาพนี้เขาทำอะไรอยู่คะ? เด็กตอบว่าคนคัดแยกสับปะรด เราอาจถามต่อว่า คนที่เขาคัดแยกสับปะรดมีอาชีพอะไรคะ? แล้วนำสับปะรดที่คัดแยกไปทำอะไรคะ? เด็กอาจตอบว่านำไปขาย เราก็บอกต่อไปว่าไปขายแล้วได้เงินทำให้เกิดรายได้ เด็กจะได้เปรียบเทียบและรู้ว่าอาชีพนี้ทำให้เกิดรายได้ และการสอนเด็กในเรื่องของข้อควรระวังควรสอนเรื่องที่ใกล้ตัว


                                                                       กลุ่มที่9 ส้ม

                                  

         กลุ่มนี้สอนเรื่องประโยชน์จากการแปรรูป เริ่มต้นด้วยคำคล้องจองเกี่ยวกับประโยชน์จากส้ม มีการนำเสนอด้วยของจริงมีการถามถึงสิ่งที่หยิบขึ้นมาว่าเป็นอะไรมีประโยชน์อย่างไรและข้อควรระวังมีอะไรบ้าง
ข้อบกพร่อง ควรวางของจากซ้ายไปขวาเพราะเป็นกฏที่ต้องทำเพราะเราเขียนหนังสือจากซ้ายไปขวา ครูควรยืนข้างหลังไม่บังสิ่งของที่จะสอน คำคล้องจองควรมีชาตร์เพลงให้เด็กอ่านเพราะเด็กยังไม่รู้จักเพลงครูควรถามเด็กว่าประโยชน์ของส้มที่ได้จากการแปรรูปมีอะไรบ้าง?เด็กตอบแล้วบันทึกข้อมูล นอกเหนือจากนี้ยังมีอะไรอีกบ้างคะ? เด็กตอบพร้อมบันทึกข้อมูล ครููอาจให้เด็กแต่ละคนออกมาหยิบเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นควรสอนเด็กในเรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน เช่น สเปย์กลิ่นส้มประโยชน์คือทำให้ห้องมีกลิ่นหอมข้อควรระวังคือไม่ควรฉีดใส่หน้าไม่ฉีดต้นลมเพราะจะทำให้เกิดอันตราย

  • ต่อมาเป็นการออกมาอ่านบทสรุปวิจัยและโทรทัศน์ครู

 วิจัย
- เรื่องผลการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

โทรทัศน์ครู
- เรื่องรวมสีน้ำยาล้างจาน
- เรื่องสร้างพื้นฐานกิจกรรมการเรียนรู้กับประสาทสัมผัสทั้ง 5
- เรื่องกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เรื่องดินน้ำมันลอยได้อย่างไร


                                      กิจกรรมในห้องเรียนทำไข่ทาโกยากิ (Cooking)

                              

                             


                                              

                                               


เป็นกิจกรรมง่ายๆที่เราสามารถนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้ เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน

ส่วนผสม

1.ไข่ไก่ 
2.ข้าวสวย
3.ผักต่างๆ แครอท/ต้นหอม
4.ปูอัด
5.ซอสปรุงรส
6.เนย

วิธีการทำ 

1.ตีไข่ใส่ชาม
2.นำส่วนผสมต่างๆใส่ลงไปในไข่ในอัตราส่วนที่พอดี
3.นำเนยใส่ในหลุมกระทะ
4.คนส่วนผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปเทลงในหลุมกระทะที่เตรียมไว้

ประเมิน

ตนเอง : ตั้งใจเรียนฟังเพื่อนที่ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน  และตั้งใจทำทาโกะยากิด้วย ทำให้รู้วิธีใน                   การทำทาโกะยากิ
เพื่อน: ตั้งใจฟังเพื่อน  มีบางกลุ่มที่ได้ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
อาจารย์: แนะนำสิ่งที่ขาดไป และเตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำทาโกะยากิด้วย







บันทึกอนุทินครั้งที่13




วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

วันที่ 11 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น. 



                     
ความรู้ที่ได้รับ


  • วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอแผนการสอน กลุ่มที่ออกไปนำเสนอมีดังนี้
  1. หน่วยผลไม้
  2. หน่วยช้าง
  3. หน่วยแตงโม
  4. หน่วยผีเสื้อ
  5. หน่วยข้าวโพด
  6. หน่วยกล้วย
      ในวันนี้มีการนำเสนอเพียง 6 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 2 หน่วยนกหงส์หยก, กลุ่มที่ 8 หน่วยสัปปะรด, กลุ่มที่ 9 หน่วยส้ม จะมีการนำเสนอในสัปดาห์หน้า


                                     

 การนำความรู้ที่ได้ไปใช้


  • สามารถนำความรู้ขั้นตอน วิธีการสอน และคำแนะนำของอาจารย์ไปแก้ไขปรับใช้ในครั้งต่อๆไป
  • นำความรู้ที่และประสบการณ์ครั้งนี้ไปถ่ายทอดแก่เด็กๆในอนาคต

 ประเมิน


ตนเอง : มีความตั้งใจเรียน ฟังเพื่อนนำเสนองานดี
เพื่อน : ตั้งใจนำเสนองานได้ดีมาก มีความสนใจและตั้งใจในการเตรียมอุปกรณ์สื่อมาประกอบการนำ                     เสนองาน
อาจารย์ : มีคำแนะนำดีๆให้ทุกกลุ่มและบอกแนวทางการแก้ไขให้