วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความวิทยาศาสตร์




วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



         ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนา
ทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัด
กิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และทักษะการคำนวณ มีรายละเอียดของแต่ละทักษะดังนี้


       ทักษะการสังเกต

การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป
ทบวงมหาวิทยาลัย (2525:60) ได้กล่าวว่า ในการสังเกตต้องระวังอย่านำความคิดเห็นส่วนตัวไปปนกับความจริงที่ได้จากการสังเกตเป็นอันขาด เพราะการลงความคิดเห็นของเราในสิ่งที่สังเกตอาจจะผิดก็ได้ ถ้าอยากรู้ว่าข้อมูลที่บันทึกนั้นเกิดจาการสังเกตหรือไม่ ต้องถามตัวเองว่า ข้อมูลที่ได้นี้ได้มาจากการใช้ประสาทสัมผัสส่วนไหนหรือเปล่า ถ้าคำตอบว่าใช่ แสดงว่าเป็นการสังเกตที่แท้จริง
นิวแมน (Neuman 1978: 26) ได้เสนอหลักสำคัญไปสู่การสังเกตสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
1. ความรู้ที่ได้จากการสังเกตต้องเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้งห้า
2. ควรใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่างละเอียดละออ
3. ต้องใช้ความสามารถของร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่าง
ระมัดระวัง และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่า
สุชาติ โพธิวิทย์ (ม.ป.ป.:15) ได้กล่าวถึงการสังเกตที่สำคัญที่ควรฝึกให้แก่เด็ก มี 3 ทางคือ
1. การสังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป คือ ความสามารถในการใช้ประสาท
สัมผัสทั้ง 5 อย่าง สังเกตสิ่งต่าง ๆ แล้วรายงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง คือ การใช้ตาดูรูปร่าง ลักษณะ หูฟังเสียง ลิ้นชิมรส จมูกดมกลิ่น และการสัมผัสจับต้องดูว่าเรียบ ขรุขระ แข็ง นิ่ม ฯลฯ
2. การสังเกตควบคู่กับการวัดเพื่อทราบปริมาณ เช่น การใช้เทอร์โมมิเตอร์ ตาชั่ง ไม้บรรทัด กระบอกตวง ช้อน ลิตร ถัง ฯลฯ ใช้เครื่องมือเหล่านี้วัดสิ่งต่าง ๆ แล้วรายงานออกมาเป็นปริมาณ เป็นจำนวน
3. การสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง เช่น สังเกตการเจริญเติบโตของต้นพืช การเจริญ
เติบโตของสัตว์ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงขนาดของผลึก การกลายเป็นไอของน้ำ ฯลฯ
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกต




วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุบินครั้งที่5


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วันที่ 16 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น.





  ความรู้ที่ได้รับ

      วันนี้อาจารย์เปิดเพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้เราฟัง แล้ววิเคราะห์เนื้อหาของบทเพลงนี้
 อาจารย์สั่งให้เราจับกลุ่ม 5 คน คิดเรื่องมา 1 เรื่องแล้วเขียนแตกออกมาว่าามีส่วนประกอบอะไรบ้าง
      พร้อมกับมีเพื่อน 2 คน ออกไปนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์


   คนที่ 1 นางสาววีนัส ยอดแก้ว
นำเสนอเรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่?
ผู้เขียน อาจารย์ชุติมา เตมียสถิต
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ


   คนที่ 2 นางสาวเจนจิรา บุตรช่วง
นำเสนอเรื่อง สอนลูกเรื่องพืช
ผู้เขียน อาจารย์นิติธร ปิลวาสน์
การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชนิดต่างๆนั้น พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน ตัวอย่างเช่น
1. การให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการประกอบอาหารประเภทผัก  พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการ
2. การหัดให้เด็กเพาะปลูกพืชง่ายๆที่บ้านก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
3. ให้เด็กไปช่วยเลือกซื้อพันธุ์พืชที่เป็นไม้ดอก ไม้ประดับ
4. พาลูกไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวที่มีพันธุ์พืชหรือต้นไม้ เช่น สวนดอกไม้ สวนพฤกษศาสตร์ 

 อาจารย์ให้เรากลับไปดูเรื่อง ความลับของแสง ที่เพื่อนจะโพสลงในกลุ่มให้ดูแล้วสรุปมาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ สรุปได้ดังนี้





   การนำไปใช้


   จากที่เพื่อนออกไปนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์ทำให้เราทราบถึงเรื่องที่เราไม่รู้ รวมถึงวิธีการสอนแบบบูรณการหรือสอดแทรกวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนของเด็กด้วย


       ประเมิน


ตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
เพื่อน : มีความกล้าตอบมาขึ้น รู้จักคิดแก้ไขปัญหาได้ดี จากคำถามที่อาจารย์ถาม
อาจารย์ : มีสื่อการสอนใหม่ๆมาเพิ่มขึ้น เช่น การเปิดเพลงแล้วให้เราสรุปเนื้อเพลงว่ากล่าวถึงอะไรเรื่องใดบ้าง และมอบหมายงานในครั้งต่อไป





บันทึกอนุทินครั้งที่4


บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วันที่ 9 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น. 






              ความรู้ที่ได้รับ






     สรุป

หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย ต้องพฒนาให้ครบทั้ง 4 ด้าน เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุล และยึดเด็กเป็นสำคัญ รวมถึงต้องมีการประสานสัมพันธ์ ระหว่าง ครอบครัว ชุมชุน และโรงเรียน




การนำไปใช้


สามารถนำความรู้รูปแบบการเรียนรู้ต่างๆที่อาจารย์สอนและอธิบาย ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมและการฝึกสอนในอนาคตด้วย


การประเมิน


ตนเอง : มีพัฒนาการทางด้านการทำ mind mapping มากขึ้นกว่าครั้งก่อน สามารถแยกแยะหัวข้อได้
เพื่อน : มีความตั้งใจในการเรียนและรับฟังอาจารย์สอน
อาจารย์ : มีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น




บันทึกอนุทินครั้งที่3


บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วันที่ 3 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น. 





   วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ให้เราเข้าร่วมโครงการศึกษาศาสตร์วิชาการของคณะ               ศึกษาศาสตร์

   








บันทึกอนุทินครั้งที่2


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วันที่ 26 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น. 





     ความรู้ที่ได้รับ



    วันนี้อาจารย์ได้สอนถึงเรื่อง พัฒนาการทางการเล่น
ตัวที่จะสะท้อนพัฒนาการ คือ พฤติกรรม
พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง
พัฒนาการยังบ่งบอกถึงความสามารถแต่ละระดับอายุ เด็กจะเรียนรู้โดยวิธีการเล่น
การเรียนรู้ สังเกตจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก สังเกตจากการที่เด็กแสดงออก
เครื่องมือวิทยศาสตร์ที่สำคัญมี 2 ประการคือ
1.ภาษา
2. คณิตศาสตร์
และอาจารย์ยังให้เราสรุปความรู้ที่ได้รับเป็น Mind mapping ดังภาพข้างล่างนี้












การนำไปใช้



นำความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาตร์ และกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยไปประยุกต์และต่อยอด
กับรายวิชาอื่นๆหรือ นำไปปรับเปลี่ยนใช้ในการเขียนแผนการสอนในอนาคตได้

 การประเมิน


ตนเอง : มีความตังใจที่จะเรียนที่ อาจมีคุยบ้างเล่นบ้างบางครั้ง
เพื่อน : มีความสามัคคี ช่วยเหลือกันในการตอบคำถามจากอาจารย์ มีความตื่นตัวที่จะเรียน มีคุยกันบ้าง
อาจารย์ : เตรียมการสอนมาดี มีเทคนิคการสอนไม่ซ้ำกันในแต่ละสัปดาห์ ทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ



บันทึกอนุทินครั้งที่1


บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 19 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น.





ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้เป็นการพบกันครั้งแรกจึงไม่มีการเรียนการสอนใดๆ แต่อาจารย์ได้แนะแนวรายวิชา ว่ามีการเรียนการสอนแบบใดบ้าง มีเนื้อหาอย่างไร โดยการแจก Course Syllabus ให้พวกเราศึกษาและเปิดดูตามไปพร้อมๆกัน อาจารย์ได้พูดแนะแนวเกี่ยวกับคะแนน บทเรียน และเรื่องที่จะเรียนในแต่ละสัปดาห์ด้วย



การนำไปใช้   

 นำทักษะการสอน การพูด การชี้แจ้ง ของอาจารย์ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ และนำบทเรียนแต่ละอาทิตย์ไปศึกษาเตรียมตัวเรียนในอาทิตย์ต่อๆไป

                     


   การประเมิน     



 ตนเอง : มีความพร้อมตื่นตัวในการฟังการเตรียมที่จะเรียน
เพื่อน : ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์พูดและโต้ตอบบางครั้งเมื่ออาจารย์ถาม
อาจารย์ : มีความพร้อมที่จะสอน เตรียมการมาอย่างดี และเปิดโอกาสให้เราได้คิด วิเคราะห์
และมีส่วน ร่วมตลอดคาบเรียน